พลศึกษา
ความหมายพลศึกษา พลศึกษาเป็น “ศาสตร์’’ แขนงหนึ่งที่อยู่บนรากฐานทางวิทยาศาสตร์ และมีความเกี่ยวข้องกับ ศาสตร์แขนงอื่นๆอีกหลายแขนง พลศึกษา มาจากคำว่า “พละ” และ “ศึกษา” พละ แปลว่า กำลัง ส่วนคำว่า ศึกษา แปลว่า การเล่าเรียน เมื่อนำคำทั้งสองคำนี้มารวมกันเป็นคำสมาสสระอะลดรูป รวมเป็น “พลศึกษา” แปลตามรูปศัพท์ว่า การศึกษาเล่าเรียนในการบำรุง ร่างกายโดยการออกกำลังกาย และจากความหมายดังกล่าว ได้มีนักพลศึกษาทั้งของไทยและต่างประเทศได้ให้ความหมายของคำว่า พลศึกษาไว้อย่างกว้างขวาง ดังต่อไปนี้คือ เจย์ บี แนช (Jay B. Nash) พลศึกษาเป็นการศึกษาแขนงหนึ่งในกระบวนการศึกษาทั้งหมด เป็นการศึกษาที่ใช้กิจกรรมเป็นสื่อ เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางกาย ทางประสาท ทางสติปัญญา ทางอารมณ์ ผลเหล่านี้จะประจักษ์ก็ต่อเมื่อได้มีการจัดกิจกรรมพลศึกษาขึ้นตามสถานที่ต่างๆเช่น สนามกีฬา โรงฝึกพลศึกษา และสระว่ายน้ำ เป็นต้น เอชเธอริงตัน (Hetherington) พลศึกษาหมายถึง สิ่งสำคัญสองประการ คือ เป็นกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกายประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งเป็นกระบวนการศึกษาที่ช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีสุขภาพดี ซึ่งจะช่วยให้เขาสามารถเรียนได้โดยไม่มีอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตแต่อย่างใด กอง วิสุทธารมณ์ พลศึกษา คือ การฝึกฝนร่างกายให้มีสมรรถภาพดีขึ้นโดยใช้กิจกรรมบางอย่างเป็นเครื่องมือประกอบการศึกษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีร่างกายเจริญงอกงาม เติบโต แข็งแรง และว่องไว อบรมให้เป็นผู้ที่มีระเบียบ วินัย หนักแน่น อดทน รู้แพ้ รู้ชนะ สร้างสรรค์สามัคคี
วรศักดิ์ เพียรชอบ พลศึกษา คือ การศึกษาแขนงหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายเช่นเดียวกับการศึกษาแขนงอื่นๆ คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม จะต่างจากวิชาอื่นตรงที่วิธีการและสิ่งที่นำมาใช้ คือ พลศึกษาใช้กิจกรรมการออกกำลัง หรือการเล่นกีฬาเป็นสื่อในการเรียนโดยใช้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมพลศึกษาให้มากที่สุด จรินทร์ ธานีรัตน์ กล่าวว่า การพลศึกษาคือ การศึกษาแขนงหนึ่งที่ใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย (ที่ใช้กล้ามเนื้อใหญ่) เป็นสื่อกลาง (Medium) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย (รูปร่าง) ทางจิตใจ ทางอารมณ์ ทางสังคม และพัฒนาการทางด้านคุณธรรม ตลอดจนการเป็นพลเมืองดีด้วย สุวิมล ตั้งสัจพจน์ ได้กล่าวถึง พลศึกษาเริ่มขึ้นสมัยกรีกโบราณ ชาวเอเธน และสปาตาร์เป็นกลุ่มคนที่สนใจต่อการออกกำลังกายมาก เขาเรียกกิจกรรมการเรียนการสอนและการปฏิบัติในสถานกายบริหาร ซึ่งเป็นจุถดเริ่มต้นของพลศึกษาที่ขณะนั้นเรียกว่า “ยิมนาสติก” (Gymnastics) ต่อมาในศตวรรษที่ 17 ความสนใจการออกกำลังกายมาเน้นที่การพัฒนาร่างกายมากขึ้นทำให้คำว่า “Gymnastics” เปลี่ยนมาเป็น “Physical Activity” ซึ่งหมายรวมถึงกิจกรรมทางร่างกาย
แอโรบิค
คำว่า แอโรบิค หมายถึง "มีชีวิตอยู่ในอากาศ" หรือ "การใช้อ๊อกซิเจน" การออกกำลังกายแบบแอโรบิคหมายถึง การเคลื่อนไหวที่ต้องการใช้อ๊อกซิเจนจำนวนมากโดยใช้เวลานาน เพื่อให้ร่างกายสามารถนำอ๊อกซิเจนไปใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ต้องการกาเคลื่อนไหวช้าๆ แต่ใช้เวลานาน เช่น ในการวิ่งต้องวิ่งช้าๆ สบายๆ แต่ต้องใช้ระยะทางครั้งละ 4-5 กม. และใช้เวลา 30-40 นาที เป็นต้น จึงทำให้ร่างกายอดทนและอึด
การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เป็นกุญแจที่จะทำให้เกิดสมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจ และยังก่อให้เกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. ท่านจะมีระดับพลังงานสูงเป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน
2. ทำให้ระบบย่อยอาหารดีและท้องไม่ผูก
3. เป็นวิธีควบคุมน้ำหนักได้อย่างแท้จริงและถาวร
4. กระดูกแข็งแรงและสมบูรณ์แม้จะสูงอายุ
5. เพิ่มสมรรถภาพของสติปัญญาและสมรรถภาพของการทำงาน
6. นอนหลับได้ดีและมีคุณภาพ
7. เป็นวิธีควบคุมความเศร้าซึมและอารมณ์เปลี่ยนแปลงอื่นๆที่ได้ผลดี
8. ผ่อนคลายความเครียดโดยไม่ต้องอาศัยแอลกอฮอล์หรือยา
9. ป้องกันโรคหัวใจและโรคเสื่อมอื่นๆ
10. เป็นการออกกำลังกายที่ให้ผลดีสูงสุด โดยใช้เวลาน้อยที่สุด ( ประมาณ 1 ชม. 20 นาที ต่อสัปดาห์)
ร่างกายของคนเราถูกสร้างขึ้นมาเพื่องานหนัก ซึ่งต้องการการเคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา หากร่างกายนิ่งอยู่กับที่นานๆ ขาดการเคลื่อนไหวที่มากพอ ร่างกายก็จะเกิดเสื่อม เช่น จะมี อาการปวดหลัง กล้ามเนื้อหย่อนยาน มีไขมันจับพอกตามหลัง ต้นแขนต้นขา รวมทั้งสมองเสื่อม และจิตใจอ่อนแอหรือปรวนแปรได้ง่ายPaul Dudley White ได้กล่าวว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นวิธีที่จะทำให้คนเราสุขภาพดีขึ้นเมื่อเราอายุมากขึ้นขณะที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิคขึ้น ร่างกายจะใช้อ๊อกซิเจนในปริมาณสูงมาก อวัยวะต่างๆของร่างกายจะทำงานเต็มที่ จึงทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้
1. การเผาผลาญพลังงานในร่างกายสูงถึง 12-15 เท่า ของอัตราการเผาผลาญขณะพัก (BMR)
2. ปริมาตรทั้งหมดของเลือด (total blood volume)
3. สมรรถภาพการทำงานของปอด (lung capacity)
4. กล้ามเนื้อหัวใจจะแข็งแรงขึ้น
5. ไขมันดีในเลือด (HDL High density lipoprotein) สูงขึ้นในขณะที่ไขมันเลว (LDL Low density lopiprotein) ลดลง จึงทำให้อัตราของไขมันดี (HDL ratio) สูงขึ้น เป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และโรคเส้นเลือดแข็ง
ประโยชน์ที่ได้รับจากการออกกำลังกายแบบแอโรบิคต่อสุขภาพที่สมบูรณ์เต็มที่ มีอย่างน้อย 7 ประการ คือ
1. ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น
2. ช่วยควบคุมไม่ให้เกิดความเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ
3. ช่วยบำบัดอารมณ์ปรวนแปร
4. เพิ่มสติปัญญา (Intellectual capacity) และเพิ่มสมรรถภาพการทำงาน (Productivity)
5. ช่วยควบคุมน้ำหนัก
6. ป้องกันโรคหัวใจ
7. ป้องกันโรคมะเร็งและโรคเสื่อมอื่นๆ
การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ต้องการกาเคลื่อนไหวช้าๆ แต่ใช้เวลานาน เช่น ในการวิ่งต้องวิ่งช้าๆ สบายๆ แต่ต้องใช้ระยะทางครั้งละ 4-5 กม. และใช้เวลา 30-40 นาที เป็นต้น จึงทำให้ร่างกายอดทนและอึด
การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เป็นกุญแจที่จะทำให้เกิดสมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจ และยังก่อให้เกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. ท่านจะมีระดับพลังงานสูงเป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน
2. ทำให้ระบบย่อยอาหารดีและท้องไม่ผูก
3. เป็นวิธีควบคุมน้ำหนักได้อย่างแท้จริงและถาวร
4. กระดูกแข็งแรงและสมบูรณ์แม้จะสูงอายุ
5. เพิ่มสมรรถภาพของสติปัญญาและสมรรถภาพของการทำงาน
6. นอนหลับได้ดีและมีคุณภาพ
7. เป็นวิธีควบคุมความเศร้าซึมและอารมณ์เปลี่ยนแปลงอื่นๆที่ได้ผลดี
8. ผ่อนคลายความเครียดโดยไม่ต้องอาศัยแอลกอฮอล์หรือยา
9. ป้องกันโรคหัวใจและโรคเสื่อมอื่นๆ
10. เป็นการออกกำลังกายที่ให้ผลดีสูงสุด โดยใช้เวลาน้อยที่สุด ( ประมาณ 1 ชม. 20 นาที ต่อสัปดาห์)
ร่างกายของคนเราถูกสร้างขึ้นมาเพื่องานหนัก ซึ่งต้องการการเคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา หากร่างกายนิ่งอยู่กับที่นานๆ ขาดการเคลื่อนไหวที่มากพอ ร่างกายก็จะเกิดเสื่อม เช่น จะมี อาการปวดหลัง กล้ามเนื้อหย่อนยาน มีไขมันจับพอกตามหลัง ต้นแขนต้นขา รวมทั้งสมองเสื่อม และจิตใจอ่อนแอหรือปรวนแปรได้ง่ายPaul Dudley White ได้กล่าวว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นวิธีที่จะทำให้คนเราสุขภาพดีขึ้นเมื่อเราอายุมากขึ้นขณะที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิคขึ้น ร่างกายจะใช้อ๊อกซิเจนในปริมาณสูงมาก อวัยวะต่างๆของร่างกายจะทำงานเต็มที่ จึงทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้
1. การเผาผลาญพลังงานในร่างกายสูงถึง 12-15 เท่า ของอัตราการเผาผลาญขณะพัก (BMR)
2. ปริมาตรทั้งหมดของเลือด (total blood volume)
3. สมรรถภาพการทำงานของปอด (lung capacity)
4. กล้ามเนื้อหัวใจจะแข็งแรงขึ้น
5. ไขมันดีในเลือด (HDL High density lipoprotein) สูงขึ้นในขณะที่ไขมันเลว (LDL Low density lopiprotein) ลดลง จึงทำให้อัตราของไขมันดี (HDL ratio) สูงขึ้น เป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และโรคเส้นเลือดแข็ง
ประโยชน์ที่ได้รับจากการออกกำลังกายแบบแอโรบิคต่อสุขภาพที่สมบูรณ์เต็มที่ มีอย่างน้อย 7 ประการ คือ
1. ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น
2. ช่วยควบคุมไม่ให้เกิดความเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ
3. ช่วยบำบัดอารมณ์ปรวนแปร
4. เพิ่มสติปัญญา (Intellectual capacity) และเพิ่มสมรรถภาพการทำงาน (Productivity)
5. ช่วยควบคุมน้ำหนัก
6. ป้องกันโรคหัวใจ
7. ป้องกันโรคมะเร็งและโรคเสื่อมอื่นๆ
อ้างอิง
วอลเลย์บอล
ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล
กีฬา วอลเลย์บอลกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1895 โดยชาวอเมริกานชื่อ นายวิลเลียม จี มอร์แกน (Mr. William G. Morgan) ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองโฮลโยก (Holyoke) มลรัฐแมสซาซูเซทส์ (Massachusetts) โดยได้ดัดแปลงมาจากกีฬา3 ชนิด คือ เทนนิส เบสบอล และแฮนด์บอลประยุกต์เข้าด้วยกัน อุปกรณ์
ที่ใช้เล่นคือ ยางในของลูกบาสเกตบอล ใช้ตาข่ายแทนเทนนิสแบ่งเขตแพน ให้ส่วนตรงกลางสูง 6 ฟุต 6 นิ้ว (1.95 ม.) โดยใช้เสาสองต้นในโรงยิมเนเซียน นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้ให้ความมุ่งหมาย
ของการเล่นกีฬาชนิดนี้ไว้ 3 ประการ คือ
1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใหญ่ได้ออกกำลังกายและใช้เล่นร่วมกันแทนกีฬาบาสเกตบอล
ซึ่งเป็นกีฬาไม่เหมาะสมกับวัยและอายุ
2 เพื่อให้มีกีฬาที่สามารถใช้เล่นในร่มและในโยงยิมเนเซียมเล็กๆ ได้ และสามารถใช้เล่นในฤดูหนาวได้
3.เพื่อให้ผู้มีอายุมากได้มีโอกาสใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และใช้เวลาพัก ผ่อนนันทนาการไปในตัวพร้อมกันด้วย โดยมีการกำหนดกติกาง่ายๆ ไม่ยุ่งยากมากนัก กติกาที่กำหนด มีดังนี้
ก) การเริ่มเล่น ให้ผู้ที่ได้ส่งลูกของข้างใดข้างหนึ่งเป็นผู้ส่งลูก และละคนมีสิทธิส่งลูก 2 ครั้ง ติดต่อกัน ไม่ว่าฝ่ายส่งจะเสียหรือฝ่ายตรงข้ามจะเสียก็ตาม
ข) เกมหนึ่งประกอบไปด้วย 9อินนิง (inning) ถ้าฝ่ายใดแพ้ 3 อินนิง ให้ปรับเป็นฝ่ายแพ้
ค) ผู้ เล่นแต่ละคนของแต่ละฝ่าย พยายามตีลูกบอลโต้ให้ลอยข้ามตาข่ายไปมา และไม่กำหนดจำนวนผู้เล่นที่แน่นอน จะเล่นข้างละกี่คนก็ได้ แต่ให้จำนวนเท่ากัน
เกมการเล่นนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนมากมาย เพราะทำให้เกิดความสนุกสนาน และนายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้ให้ชื่อเมนี้ว่า มินโตเนต (Mintonette)
ต่อมาในปี ค.ศ. 1896 เกมมินโนเนตได้มีวิวัฒนาการใหม่ เมื่อนายวิลเลียม จี มอร์แกน
แสดง วิธีการเล่นต่อที่ประชุมสัมนาผู้อำนวยการพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. ที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ มลรัฐแมสซาชูเซทส์ และได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้เข้าร่วมประชุมใหญ่ ศาสตราจารย์อัลเฟรด ทีเฮลสตีด ได้เสนอแนะให้ นายวิลเลียม เปลี่ยนชื่อเรียกจากมินโตเนต เป็น วอลเลย์บอล ตั้งแต่นั้นมา และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อร่างระเบียบและกำหนดวิธีการเล่นให้เป็น
แบบฉบับต่อไป โดยได้กำหนดกติกาเพิ่มขึ้น เช่น จำนวนผู้เล่นข้างละ 5 คนแข่งขันเกมละ 21 คะแนน ตาข่ายสูง 21 เมตร เป็นต้น
ใน ปี ค.ศ. 1919 สมาคม Y.M.C.A. ได้เชิญสมาคมส่งเสริมการกีฬาแห่งชาติอเมริกาที่มีชื่อเรียกว่า N.C.A.A. (The National Collegiate Athletic Association) เข้าร่วมการพิจารณาและเป็นผู้อุปการะในการจัดพิมพ์หนังสือกติกาวอลเลย์บอล โดยเฉพาะเป็นเล่มแรกของโลกขึ้น มีชื่อเรียกว่า Sponding Bule Cover Volleyball Bule Book ทั้งมีความประสงค์เพื่อเผยแพร่กติกาการเล่นวิลเลย์บอลสู่วิทยาลัยและสมาคม อื่นๆ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
กีฬาวอลเลย์บอลได้วิวัฒนาการมาโดย ตลอด ในปี ค.ศ. 1921 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยกำหนดกติกาเพิ่มขึ้น เช่นผู้เล่นใช้จำนวนข้างละ 6 คน ขนาดสนามกว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร มีเส้นแบ่งแดนกลาง ตาข่ายสูง 2.43 เมตร แข่งขันกันเกมละ 25 คะแนน เป็นต้น
ต่อมาในปี ค.ศ.1928ได้มีการประชุมขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงกติกาเล่นวอลเลย์บอล
ของสมาคม Y.M.C.A. และได้จัดตั้งสมาคมใหม่เรียกว่า U.S.V.B.A. ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตั้ง
กฎเกณฑ์ กติกาการแข่งขันวอลเลยบอลระดับชาติ ประธานสมาคมคนแรก คือดอกเตอร์ จอร์จ เจ.
พิสเซอร์ ซึ่งบุคคลผู้นี้เป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากในการช่วยเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลออกไปเผยแพร่ในในลักษณะ
โครงการสันทนาการตามค่ายพักแรม ตามบ้าน และตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ จนกีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีคนนิยมเล่นกันอย่างกว้างขวาง และมีการจัดการแข่งขันแทบทุกหาทุกแห่ง
ปี ค.ศ. 1947 ได้มีการก่อตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปตั้งที่เมืองโลวานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี
ค.ศ. 1949 ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิก 210 ประเทศ และมีผู้สนใจเล่นกีฬาวอลเลย์บอลประมาณ 800 ล้านคน
ปี ค.ศ. 1949 มีการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อชิงความเป็นผู้ชนะเลิศของโลก
ขึ้นที่กรุงปราก ประเทศเซโกวโลวะเกีย โดยจัดการแข่งขันเฉพาะประเภทชายเท่านั้น
ปี ค.ศ. 1952 ได้มีการแข่งขันเพื่อชิงความเป็นผู้ชนะเลิศของโลกประเภทชายขึ้น เป็นครั้งที่ 2 และประเภทหญิงเป็นครั้งแรกที่กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย
ปี ค.ศ. 1957 กีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่จัดแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก
ฟุตบอล
ประวัติฟุตบอล ความเป็นมาของฟุตบอล | ||
ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่ากีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่มีกติกาการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431 |
วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่น สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา "แกลโล-โรมัน" (Gello-Roman) พร้อมกีฬาต่างๆ เข้ามาสู่เมืองกอล (Gaul) อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต และการเล่นฮาร์ปาสตัม (Harpastum) ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเลอ